ไทย  | อังกฤษ | ญี่ปุ่น
 
   


คำแนะนำด้านการตรวจคัดกรอง
"มะเร็งเต้านม" ด้วยตนเอง

 


คำแนะนำด้านการตรวจคัดกรอง มะเร็งเต้านม ด้วยตนเอง

โรคมะเร็งเต้านม

เป็นโรคที่พบบ่อยเป็นลำดับแรกๆในหญิงไทย โรคมะเร็งเต้านมพบบ่อยในช่วงอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป ผู้ป่วยระยะเริ่มแรกมักคลำพบก้อนที่เต้านมโดยบังเอิญ ส่วนใหญ่ ไม่มีอาการเจ็บที่ก้อนในระยะเริ่มแรก แต่ถ้าปล่อยไว้ไม่รักษา จะมีอาการบวมแดงของผิวหนังตรงที่มีก้อนหรือเป็นแผลแตก มีน้ำเหลืองไหลซึมในที่สุด ถ้าพบตั้งแต่ขนาดเล็กๆ


การคัดกรองมะเร็งเต้านม

  1. การตรวจภาพถ่ายรังสีเต้านมที่เรียกว่า การทำแมมโมแกรม เมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไป ควรตรวจเป็นประจำทุก 1-2 ปี จนกระทั่งอายุ 70 ปี

  2. การตรวจสุขภาพประจำปี (Clinical Breast Examination) ในช่วงอายุ 20-39 ปี ควรให้แพทย์หรือพยาบาลที่ผ่านการฝึกอบรมการตรวจคลำ เต้านม (Clinical Breast Examination) คลำเต้านมให้ทุก 1-3 ปี เมื่อถึงช่วงอายุ 40 ปีขึ้นไป ควรให้แพทย์หรือพยาบาลคลำเต้านมให้ทุกๆปี

  3. การตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำทุกเดือน (Breast Self Examination) ควรเริ่มต้นตรวจด้วยตนเองเมื่ออายุ 20 ปี ขึ้นไป เลือกตรวจ เต้านมภายหลังรอบเดือนหมดไปแล้ว 2-3 วัน

    **ไม่ควรตรวจในช่วงก่อนมีรอบเดือน เพราะช่วงนั้นเต้านมจะคัดตึง อาจทำให้รู้สึกคล้ายมีก้อนแข็งผิดปกติได้ อาจทำก่อนหรือหลังอาบน้ำ

การตรวจเต้านมด้วยตนเอง

ขั้นตอนที่ 1 ตรวจในขณะอาบน้ำ

  • ขณะอาบน้ำ เป็นระยะเวลาที่ผิวหนังเปียกและลื่น จะทำให้การตรวจง่ายขึ้น การตรวจทำโดยใช้ปลายนิ้วมือวางราบ บนเต้า

นมคลำและเคลื่อนนิ้วมือในลักษณะคลึงเบา ๆ ให้ทั่ว ทุกส่วนของเต้านมเพื่อค้นหาก้อนหรือเนื้อที่แข็งเป็นไตผิดปกติ หลังอาบน้ำแล้วจึงทำการตรวจเต้านมขั้นต่อไป

ขั้นตอนที่ 2 การตรวจหน้ากระจก

  • ยืนตรงมือแนบลำตัว แล้วยกแขนขึ้นสูงเหนือศีรษะ สังเกตลักษณะของเต้านม เพราะการเคลื่อนยกแขนขึ้นนั้น จะสามารถมองเห็นความผิดปกติได้
  • ยกมือเท้าเอว เอามือกดสะโพกแรง ๆ เพื่อให้เกิด การเกร็ง และหดตัวของกล้ามเนื้ออก สังเกตดูลักษณะที่ผิดปกติ

ขั้นตอนที่ 3 การตรวจในท่านอน

  • นอนราบ และยกมือข้างหนึ่งไว้ใต้ศีรษะ แล้วใช้มืออีกข้างหนึ่งตรวจคลำให้ทั่วทุกส่วนของเต้านม (ภาพที่ 1, 2 และ 3)
  • โดยเริ่มต้นที่จุดบริเวณส่วนนอกเหนือสุดของเต้านม (จุด X ในภาพ) เวียนไปโดยรอบเต้านม แล้วเคลื่อนมือ เขยิบเข้ามาเป็นวงแคบเข้าจนถึงบริเวณหัวนม
  • จากนั้นค่อยๆ บีบหัวนมโดยใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้เพื่อสังเกตดูว่า มีน้ำเลือดน้ำหนอง หรือน้ำใส ๆ อื่นใดออกมาหรือไม่ เสร็จแล้วตรวจเต้านมอีกข้างหนึ่งในลักษณะเดียวกัน

 

 


ข้อมูลอัพเดท ณ วันที่ : 9 เมษายน 2567

 

 

 

        

   บทความเพื่อสุขภาพ
   คลิปรายการสุขภาพ
   นักลงทุนสัมพันธ์
   CSR ลานนาเพื่อสังคม
   แผนกบริการ
   คลินิกพิเศษ
   ร่วมงานกับเรา
   ข่าวสารลานนา
   สิทธิประโยชน์ส่วนลด
    
        
 ศูนย์ผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก
   ศูนย์สวนหลอดเลือดสมอง
   ศูนย์ส่องกล้องผ่าตัดแผลเล็ก
  ศูนย์โรคปวดหลัง
   ศูนย์บอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจ
   ศูนย์มะเร็งนรีเวช
   ศูนย์สูตินรีเวช
   ศูนย์เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์
   ศูนย์กุมารเวชกรรม
   ศูนย์อายุรกรรม
   ศูนย์อุบัติเหตุฉุกเฉิน
   ศูนย์ทันตกรรม
   ศูนย์โรคปวดท้อง
   ศูนย์ตรวจสุขภาพ
   ศูนย์ศัลยกรรมส่องกล้อง

           

 
designed by Lanna Hospital